เตรียมความพร้อมรับมือ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์เด็ด! บทความนี้จะช่วยธุรกิจและองค์กรของคุณ สำหรับการเตรียมความพร้อมการรับมือการจัดการ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น 1. รู้เท่าทัน PDPA การศึกษาและการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของกฏหมาย PDPA เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง โดยประเด็นต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้เป็นหลักเกี่ยวกับ PDPA ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลและก่อให้เกิดผลกระทบกับเจ้าของข้อมูลหากมีข้อมูลรั่วไหล โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก • ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลได้ เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน • ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว คือ ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่หากรั่วไหลแล้วสามารถส่งผลกระทบกับเจ้าของข้อมูลได้ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา สิทธิของเจ้าของข้อมูล การรู้ถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูล ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งตามข้อกำหนดให้เจ้าของข้อมูล สามารถใช้สิทธิเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือสิทธิอื่นๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง อ่านเรื่องสิทธิเจ้าของข้อมูลเพิ่มเติม : https://whitefact.co/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5/ การเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูล องค์กรควรทำความเข้าใจการเก็บรวมข้อมูลและการใช้ข้อมูลของเจ้าของข้อมูลเริ่มตั้งแต่ การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว(Privacy policy) การขอความยินยอมลูกค้า เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสม (Data Minimization) โดยจะต้องไม่เกินความจำเป็นของวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งหรือขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลภายใต้ PDPA ต้องทำด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล องค์กรที่ปฏิบัติตาม PDPA อย่างถูกต้องจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลคือหัวใจสำคัญขององค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูล(Data Controller) เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจว่าข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้นจะไม่ถูกละเมิดหรือรั่วไหล เช่น การจัดทำแบบประเมินความเสี่ยง (Risk Management) ในทุก 6 เดือน หรือขึ้นอยู่กับรูปแบบขององค์กร บทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน ในกรณีที่มีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลนั้น เช่น การถูกนำเลขบัตรประชาชนไปทำธุรกรรม ทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิฟ้องร้องเพื่อเอาผิดกับองค์กรที่ทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้ โดยจะมีกระบวนการตามกฎหมายดังนี้ • โทษทางอาญา: จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • โทษทางแพ่ง: ค่าสินไหมทดแทน + ค่าสินไหมเพื่อการลงโทษอีกไม่เกิน 2 เท่า • โทษทางปกครอง: ปรับไม่เกิน 1/3/5 ล้านบาท * หากเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ กรรมการหรือผู้จัดการจะต้องได้รับโทษดังกล่าวด้วย 2. ปรับระบบให้สอดคล้องหรือหาตัวช่วยในการจัดการข้อมูล เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเรากำลังพูดถึงข้อมูลที่มีขนาดเยอะมาก และ ยังต้องมีขั้นตอนที่จะต้องทำเพื่อให้สอดคล้องกับ PDPA ไม่ว่าจะเป็นการจัดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การขอความยินยอม การจัดทำบันทึกการประมวลผลข้อมูล(RoPA) ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย หรือ หลายแผนกในองค์กรสำหรับการรับมือกับกระบวนการที่จะต้องเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ใช้เวลาค่อนข้างมากในการค้นหาและจัดการข้อมูล เนื่องจากในแต่ละแผนกจะมีรูปแบบการทำงานหรือการจัดเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ซึ่งองค์กรอาจจะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูล (Utilizing Technology) โดยมีตัวช่วยในการจัดการให้ดำเนินการสอดคล้องตามหลัก PDPA ด้วยโซลูชั่นจาก WhiteFact เครื่องมือที่ตอบโจทย์องค์กรอย่างครบถ้วนในด้าน PDPA เป็น Eco-system ที่พัฒนามาเพื่อช่วยองค์กรให้สามารถดำเนินการ PDPA ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และลดระยะเวลา ด้วยฟีเจอร์หลักๆ เช่น 💜 Data Inventory เมนูสำหรับการวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการค้นหาของแต่ละแผนก ประกอบไปด้วย การจัดทำแผนภาพข้อมูล (Data Flow Diagram) และ การจัดทำบันทึกการประมวลผลข้อมูล(RoPA) 💜 Privacy Notice เมนูสำหรับการจัดทำนโยบายส่วนบุคคลต่างๆเช่น HR Policy , Cookie Policy เพื่อให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำไปใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ 💜 Consent Management เมนูสำหรับการจัดการความยินยอมของเจ้าของข้อมูล โดยองค์กรสามารถติดตามได้ทุกเวลา 3. เสริมสร้างความรู้ให้แก่พนักงานในองค์กร นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองส่วนบุคคล (DPO) ในองค์กรแล้วการสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ ให้แก่พนักงานในองค์กรก็สำคัญเช่นกัน เนื่องจาก PDPA ไม่ใช่งานของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นงานที่ทั้งองค์กรจะต้องช่วยกันปฏิบัติตามข้อกำหนดและเข้าใจในบทบาทความรับผิดชอบของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าเราจะปกป้องดูแลข้อมูลที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ป้องกันภัยคุกคาม นับตั้งแต่ปี 2564 ผ่านมาเราจะได้เห็นข่าวการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลจากองค์กรต่างๆอย่างเลี่ยงไม่ได้ อย่างกรณี 9 Near แฮกเกอร์ที่โจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยได้ 55 ล้านรายชื่อ และได้ทำการโพสต์ขายในเว็บไซต์ BreachForums ที่เป็นแหล่งรวมการซื้อขายข้อมูลที่ได้จากการโจรกรรม ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bbc.com/thai/articles/cq5z3w5lwdxo ยิ่งทำให้องค์กรกลับมาตระหนักถึงความสำคัญของ PDPA ซึ่งเราหวังว่า องค์กรของคุณจะตรวจสอบความปลอดภัยของคุณเป็นประจำ ทำการทดสอบการเจาะระบบ และกำจัดข้อมูลเก่าอย่างปลอดภัย เพื่อให้เป็นไปกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 37 “ความมั่นคงปลอดภัย” หมายความว่า การมีมาตราการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นความลับ (confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ อ้างอิงข้อมูลจาก : https://pdpathailand.com/pdpa/content/article204.php FacebookLine