ทำความรู้จัก Data Breach: ภัยคุกคามข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ควรมองข้าม

เรามักเห็นข่าวองค์กรทั้งเล็กหรือใหญ่ ถูกโจมตีทางไซเบอร์ และการโจมตีนั้นก็มีหลากหลายวิธีพัฒนาตามยุคสมัย จนหลายองค์กรก็อาจจะตั้งรับไม่ทัน ทำให้ได้รับผลกระทบในหลายด้านๆ ไม่ว่าจะเป็นการถูกโจรกรรมข้อมูล การถูกละเมิดข้อมูล ทำให้องค์กรได้หลายความเสียหายทั้งการถูกฟ้องร้อง ชดเชยค่าเสียหาย และข้อมูลก็ไม่สามารถกู้คืนได้ 🚨 Data Breach คืออะไร? Data Breach คือ เหตุการณ์ที่ข้อมูลส่วนบุคคล รั่วไหล สูญหาย หรือถูกขโมย โดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ Human Error หรือระบบรักษาความปลอดภัยที่บกพร่อง ประเภทของ Data Breach มีอะไรบ้าง ? • ฟิชชิ่ง (Phishing) 🎣 การโจมตีแบบฟิชชิ่งมักเกี่ยวข้องกับอีเมลหรือข้อความที่หลอกลวง เพื่อให้ผู้รับเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลการเข้าสู่ระบบ การโจมตีเหล่านี้ใช้การหลอกลวงเพื่อเอาชนะความเชื่อใจและความไร้เดียงสาของคน • การโจมตีด้วยมัลแวร์ (Malware Attacks) 🦠 มัลแวร์ครอบคลุมการโจมตีทางซอฟต์แวร์หลายรูปแบบ เช่น ไวรัส แรนซัมแวร์ สปายแวร์ และโทรจัน ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแทรกซึมระบบ ขโมยข้อมูล… Continue reading ทำความรู้จัก Data Breach: ภัยคุกคามข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ควรมองข้าม

วิธีรับมือและป้องกัน! ข้อมูลส่วนตัวเรารั่วไหลทำอย่างไรดี?

เชื่อว่าในแต่ละวันทุกคนจะต้องประสบปัญหาเดียวกันคือ มีมิจฉาชีพที่โทรเข้ามาเพื่อยืนยันข้อมูลส่วนตัวและมีวิธีหลอกล่อให้เราสามารถเสียเงินในบัญชีอย่างไม่รู้ตัวด้วยวิธีสารพัดหมายความว่า ข้อมูลส่วนตัวของเรารั่วไหลแล้วสิ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วเราจะทำอย่างไรดี ? วันนี้ทีมงาน WhiteFact จึงขอเสนอวิธีป้องกันและรับมือโดยสามารถเริ่มต้นง่ายๆได้จากตัวท่านเองก่อน😊 หากคุณสงสัยว่าข้อมูลส่วนตัวของคุณรั่วไหล คุณควรทำดังนี้ • เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณ 🔑 : เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับบัญชีทั้งหมดที่อาจได้รับผลกระทบจากการรั่วไหล ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากและแตกต่างกันสำหรับแต่ละบัญชี • แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 📢 : แจ้งหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในท้องถิ่นของคุณเกี่ยวกับการรั่วไหล • ระวังมิจฉาชีพ🕵🏻 : ระวังอีเมลหรือโทรศัพท์จากมิจฉาชีพที่พยายามใช้ประโยชน์จากการรั่วไหล นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของคุณ : • ระวังข้อมูลส่วนตัวที่คุณแชร์ออนไลน์ 🌐: แชร์ข้อมูลส่วนตัวเฉพาะบนเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ • ใช้รหัสผ่านที่คาดเดายาก 🔒: ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละบัญชีและเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ • ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและมัลแวร์ ⚙️ : ซอฟต์แวร์เหล่านี้สามารถช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณจากมัลแวร์ที่อาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณ • ระวังการคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย 🔗: การคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัยอาจนำไปสู่มัลแวร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณ การรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวเป็นสิ่งที่น่ากังวล แต่คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ด้วยการทำตามขั้นตอนเบื้องต้นเหล่านี้นะคะ 💜

ความเสี่ยงเมื่อ AI ทำได้ทุกอย่าง!กระทบต่อ PDPA หรือไม่

เทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ความสามารถของ AI ในการเก็บรวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลได้ทุกอย่างเป็นประโยชน์ต่อหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การใช้ AI ก็มีความเสี่ยงที่เราต้องตระหนักถึง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 🌐 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลด้วย AI ⌛ AI สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้จากหลายแหล่งโดยอัตโนมัติ และ ประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้รวดเร็วกว่ามนุษย์หลายเท่า ทำให้หลายองค์กรนิยมนำ AI ไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น Airbnb เก็บข้อมูล ที่พักที่ผู้ใช้ค้นหาและรีวิวของผู้ใช้ เพื่อแนะนำที่พักที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือ Shopee สินค้าที่ผู้ใช้ค้นหา และ สินค้าที่ผู้ใช้ใส่ตะกร้า เพื่อนำเสนอโปรโมชั่นให้ลูกค้าได้ ซึ่งหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล การกระทำเช่นนี้อาจขัดต่อกฎหมาย PDPA ซึ่งกำหนดให้การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน 2. การประมวลและการวิเคราะห์ในทางที่ผิดเนื่องจากขาดการควบคุม 🎭 AI มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และการตลาด แต่หากข้อมูลที่นำไปใช้ไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างละเอียด จนทำให้เกิดข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผิดพลาดก็ทำให้องค์กรจะได้รับผลกระทบได้ เช่น เมื่อปี 2017 มีประเด็นที่… Continue reading ความเสี่ยงเมื่อ AI ทำได้ทุกอย่าง!กระทบต่อ PDPA หรือไม่

รู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data) และข้อมูลอ่อนไหว(Sensitive Data) ตามกฏหมาย  PDPA

พรบ.กฏหมายข้อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 หรือ กฏหมาย PDPA ถูกบังคับใช้เพือให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบการ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ “ข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ข้อมูลอ่อนไหว” ตามกฎหมาย PDPA เพื่อให้สามารถป้องกันการละเมิดข้อมูลของเรากันนะคะ 🌐🛡️ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คืออะไร? ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลใด ๆ ที่สามารถใช้ในการระบุตัวตนของบุคคลได้โดยตรงหรือโดยอ้อม ยกตัวอย่างเช่น : ชื่อ-นามสกุล,หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน,หมายเลขโทรศัพท์,ที่อยู่,อีเมล ข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) คืออะไร ? ข้อมูลอ่อนไหว คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลได้แบบเจาะจง และหากรั่วไหลมีความเสี่ยงต่อการอับอายและเสียความเป็นส่วนตัว เช่น : ข้อมูลเชื้อชาติ,ข้อมูลศาสนา,ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ,ข้อมูลทางพันธุกรรม,ข้อมูลทางชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ, การสแกนม่านตา,ข้อมูลความเชื่อทางการเมือง,ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ข้อแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ? สิ่งที่เหมือนกัน ข้อมูลทั้ง 2 ประเภทจะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล ในการเก็บรวมรวบ นำข้อมูลไปใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ยกเว้นเจ้าของข้อมูลอนุญาตให้เปิดเผยได้และเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขหรือลบข้อมูลได้ทุกเมื่อ… Continue reading รู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data) และข้อมูลอ่อนไหว(Sensitive Data) ตามกฏหมาย  PDPA

คำถามคาใจ : แอบอัดเสียงผิด กฎหมาย PDPA หรือไม่

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่า การแอบอัดเสียงในการสนทนาจากผู้ที่ถูกอัดเสียงนั้นผิดกฎหมาย PDPA หรือเปล่า? 🤔 ตามกฎหมาย PDPA นั้นต้องบอกเลยว่า จริงๆแล้วการอัดเสียง ไม่ได้มีความผิดในกฏหมาย PDPA แต่อย่างใด เนื่องจากคลิปเสียงไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ตามหลักกม. และสามารถใช้เป็นหลักฐานที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ แต่หากคลิปเสียงนั้นถูกเผยแพร่ลงบนสาธารณะ และทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง เนื่องจากถูกละเมิดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายได้เช่นกัน สรุปง่ายๆอ่านให้เข้าใจ!💜 1. การใช้คลิปเสียงในทางที่ถูกต้อง : หากเราใช้คลิปเสียงเพื่อเป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่ถูกอัดเสียง 2. การได้รับความยินยอม : เพื่อความปลอดภัยและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ควรขอความยินยอมก่อนการอัดเสียงเสมอ แม้ว่าในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับ 3. การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล : ถ้าคลิปเสียงนั้นมีข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ การเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมจะเป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA 4.การเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหาย : หากมีการเผยแพร่คลิปเสียงที่ทำให้บุคคลเสื่อมเสียชื่อเสียง ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา

เตรียมความพร้อมรับมือ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์เด็ด!

บทความนี้จะช่วยธุรกิจและองค์กรของคุณ สำหรับการเตรียมความพร้อมการรับมือการจัดการ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น 1. รู้เท่าทัน PDPA การศึกษาและการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของกฏหมาย PDPA เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง โดยประเด็นต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้เป็นหลักเกี่ยวกับ PDPA ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลและก่อให้เกิดผลกระทบกับเจ้าของข้อมูลหากมีข้อมูลรั่วไหล โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก • ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลได้ เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน • ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว คือ ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่หากรั่วไหลแล้วสามารถส่งผลกระทบกับเจ้าของข้อมูลได้ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา สิทธิของเจ้าของข้อมูล การรู้ถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูล ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งตามข้อกำหนดให้เจ้าของข้อมูล สามารถใช้สิทธิเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือสิทธิอื่นๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง อ่านเรื่องสิทธิเจ้าของข้อมูลเพิ่มเติม : https://whitefact.co/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5/ การเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูล องค์กรควรทำความเข้าใจการเก็บรวมข้อมูลและการใช้ข้อมูลของเจ้าของข้อมูลเริ่มตั้งแต่ การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว(Privacy policy) การขอความยินยอมลูกค้า… Continue reading เตรียมความพร้อมรับมือ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์เด็ด!

ถ่ายรูปคนอื่นในที่สาธารณะ ผิดกฎหมาย PDPA ไหม? มาหาคำตอบกัน!

ในยุคสมัยที่โซเชียลมีเดียเฟื่องฟู การถ่ายภาพและแชร์รูปภาพกลายเป็นเรื่องปกติ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า การถ่ายภาพคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่? คำตอบคือ “ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพ” หากคุณถ่ายภาพแล้วติดบุคคลอื่น เพื่อนำไปใช้ส่วนตัวไม่ได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือว่า ไม่เข้าข่ายในการกระทำผิดของ PDPA แต่หากคุณถ่ายภาพบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือว่า เข้าข่ายผิด PDPA การถ่ายในรูปแบบการนำไปใช้ส่วนตัว และ การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูตัวอย่างกัน! 💁‍♀️รูปแบบการนำไปใช้ส่วนตัว คือ การนำภาพไปใช้ในรูปแบบประโยชน์ส่วนตน ไม่ได้รับรายได้จากการนำรูปไปใช้ และไม่ก่อให้เกิดให้ความเสียหายแก่บุคคลที่อยู่ในรูปภาพ ยกตัวอย่าง เช่น เราถ่ายภาพทิวทัศน์ สถานที่ ในภาพบังเอิญมีบุคคลติดอยู่ในภาพของสถานที่นั้นด้วย เรานำรูปภาพไปโพสต์ใน Facebook สามารถทำได้ โดยยังไม่เข้าข่ายละเมิดสิทธิ PDPA แต่ภาพนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่อยู่ในรูปภาพด้วยนะคะ 🌐รูปแบบการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ คือ การใช้ภาพถ่ายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ โดยมุ่งหวังผลตอบแทนทางการเงิน หรือเพื่อส่งเสริมสินค้า บริการ หรือกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล(บุคคลที่อยู่ในรูปภาพหรือวีดีโอ) ก่อนนำภาพหรือวีดีโอไปเผยแพร่ ยกตัวอย่างเช่น คุณไวท์ถ่ายรูปกับลูกค้าเพื่อนำไปโปรโมทสินค้าของตนเองในช่องทางออนไลน์ แต่ลูกค้าไม่ได้มีการให้ความยินยอม จะเข้าข่ายผิดกฏหมาย PDPA แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความสบายใจของทั้ง… Continue reading ถ่ายรูปคนอื่นในที่สาธารณะ ผิดกฎหมาย PDPA ไหม? มาหาคำตอบกัน!

เตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ PDPA Review แบบมืออาชีพ!

PDPA Review เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้องค์กรของเรามั่นใจในความถูกต้องและความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล แต่การเตรียมตัวสำหรับ Review ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยาก หากเรามีการเตรียมความพร้อมที่ดี มาดูเคล็ดลับง่าย ๆ เพื่อเตรียมองค์กรให้พร้อมรับการตรวจสอบแบบมืออาชีพกันค่ะ!🔗 1.จัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงเอกสาร 📂📝 • หมั่นตรวจสอบและแก้ไข เอกสาร RoPA (Record of Processing Agreement) โดยอาจจะมีการจัดประชุมคณะ DPO ให้มาตรวจสอบร่วมกันทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อให้การบันทึกกิจกรรมดำเนินงานเป็นปัจจุบันและถูกต้อง • ข้อมูลที่ได้รับมาสำหรับการประมวลผลข้อมูลนั้นมีฐานกฏหมาย (Lawful Basis) รองรับครบถ้วนหรือไม่? ซึ่งหากไม่มีฐานกฏหมายใดมารองรับจำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยจะต้องจัดทำ “เอกสารขอความยินยอม (Consent Form)” • จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทุกประเภท ที่องค์กรมีการจัดเก็บและนำข้อมูลไปใช้เพื่อให้เจ้าของข้อมูลได้ทราบ วิธีการจัดเก็บรวบรวม การนำไปใช้ และการทำลาย รวมถึงมาตรการความปลอดภัยของข้อมูล 2. ประเมินความเสี่ยงและจัดการ 🔍 • จัดทำแบบประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Data Protection Impact Assessment:… Continue reading เตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ PDPA Review แบบมืออาชีพ!

ถ้าพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองหลุดทำอย่างไรและใครรับผิดชอบ?

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลส่วนบุคคลมีมูลค่าสูง การรั่วไหลของข้อมูลจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเสียหายต่อทั้งบุคคลและองค์กร โดยกฏหมาย PDPA จะมี 2 บทบาท ที่จะมีหน้าที่และบทบาทที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของข้อมูลส่วนบุคคล คือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล Data Processor)” 🔷 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บริษัท ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือหน่วยงานภาครัฐ 🔷ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ องค์กรหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) ให้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเอง โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 🔐 แล้วกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ทั้ง 2 บทบาทจะทำหน้าที่อย่างไร ? 📍หน้าที่และความรับผิดชอบของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” •… Continue reading ถ้าพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองหลุดทำอย่างไรและใครรับผิดชอบ?