คำถามคาใจ : แอบอัดเสียงผิด กฎหมาย PDPA หรือไม่

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่า การแอบอัดเสียงในการสนทนาจากผู้ที่ถูกอัดเสียงนั้นผิดกฎหมาย PDPA หรือเปล่า? 🤔 ตามกฎหมาย PDPA นั้นต้องบอกเลยว่า จริงๆแล้วการอัดเสียง ไม่ได้มีความผิดในกฏหมาย PDPA แต่อย่างใด เนื่องจากคลิปเสียงไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ตามหลักกม. และสามารถใช้เป็นหลักฐานที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ แต่หากคลิปเสียงนั้นถูกเผยแพร่ลงบนสาธารณะ และทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง เนื่องจากถูกละเมิดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายได้เช่นกัน สรุปง่ายๆอ่านให้เข้าใจ!💜 1. การใช้คลิปเสียงในทางที่ถูกต้อง : หากเราใช้คลิปเสียงเพื่อเป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่ถูกอัดเสียง 2. การได้รับความยินยอม : เพื่อความปลอดภัยและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ควรขอความยินยอมก่อนการอัดเสียงเสมอ แม้ว่าในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับ 3. การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล : ถ้าคลิปเสียงนั้นมีข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ การเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมจะเป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA 4.การเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหาย : หากมีการเผยแพร่คลิปเสียงที่ทำให้บุคคลเสื่อมเสียชื่อเสียง ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา

เตรียมความพร้อมรับมือ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์เด็ด!

บทความนี้จะช่วยธุรกิจและองค์กรของคุณ สำหรับการเตรียมความพร้อมการรับมือการจัดการ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น 1. รู้เท่าทัน PDPA การศึกษาและการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของกฏหมาย PDPA เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง โดยประเด็นต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้เป็นหลักเกี่ยวกับ PDPA ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลและก่อให้เกิดผลกระทบกับเจ้าของข้อมูลหากมีข้อมูลรั่วไหล โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก • ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลทั่วไปที่สามารถระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลได้ เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน • ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว คือ ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่หากรั่วไหลแล้วสามารถส่งผลกระทบกับเจ้าของข้อมูลได้ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา สิทธิของเจ้าของข้อมูล การรู้ถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูล ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งตามข้อกำหนดให้เจ้าของข้อมูล สามารถใช้สิทธิเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือสิทธิอื่นๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการตามกฏหมายได้อย่างถูกต้อง อ่านเรื่องสิทธิเจ้าของข้อมูลเพิ่มเติม : https://whitefact.co/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5/ การเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูล องค์กรควรทำความเข้าใจการเก็บรวมข้อมูลและการใช้ข้อมูลของเจ้าของข้อมูลเริ่มตั้งแต่ การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว(Privacy policy) การขอความยินยอมลูกค้า… Continue reading เตรียมความพร้อมรับมือ PDPA ด้วย 4 กลยุทธ์เด็ด!

ถ่ายรูปคนอื่นในที่สาธารณะ ผิดกฎหมาย PDPA ไหม? มาหาคำตอบกัน!

ในยุคสมัยที่โซเชียลมีเดียเฟื่องฟู การถ่ายภาพและแชร์รูปภาพกลายเป็นเรื่องปกติ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า การถ่ายภาพคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่? คำตอบคือ “ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพ” หากคุณถ่ายภาพแล้วติดบุคคลอื่น เพื่อนำไปใช้ส่วนตัวไม่ได้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือว่า ไม่เข้าข่ายในการกระทำผิดของ PDPA แต่หากคุณถ่ายภาพบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือว่า เข้าข่ายผิด PDPA การถ่ายในรูปแบบการนำไปใช้ส่วนตัว และ การนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ทั้ง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูตัวอย่างกัน! 💁‍♀️รูปแบบการนำไปใช้ส่วนตัว คือ การนำภาพไปใช้ในรูปแบบประโยชน์ส่วนตน ไม่ได้รับรายได้จากการนำรูปไปใช้ และไม่ก่อให้เกิดให้ความเสียหายแก่บุคคลที่อยู่ในรูปภาพ ยกตัวอย่าง เช่น เราถ่ายภาพทิวทัศน์ สถานที่ ในภาพบังเอิญมีบุคคลติดอยู่ในภาพของสถานที่นั้นด้วย เรานำรูปภาพไปโพสต์ใน Facebook สามารถทำได้ โดยยังไม่เข้าข่ายละเมิดสิทธิ PDPA แต่ภาพนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่อยู่ในรูปภาพด้วยนะคะ 🌐รูปแบบการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ คือ การใช้ภาพถ่ายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ โดยมุ่งหวังผลตอบแทนทางการเงิน หรือเพื่อส่งเสริมสินค้า บริการ หรือกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล(บุคคลที่อยู่ในรูปภาพหรือวีดีโอ) ก่อนนำภาพหรือวีดีโอไปเผยแพร่ ยกตัวอย่างเช่น คุณไวท์ถ่ายรูปกับลูกค้าเพื่อนำไปโปรโมทสินค้าของตนเองในช่องทางออนไลน์ แต่ลูกค้าไม่ได้มีการให้ความยินยอม จะเข้าข่ายผิดกฏหมาย PDPA แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความสบายใจของทั้ง… Continue reading ถ่ายรูปคนอื่นในที่สาธารณะ ผิดกฎหมาย PDPA ไหม? มาหาคำตอบกัน!

เตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ PDPA Review แบบมืออาชีพ!

PDPA Review เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้องค์กรของเรามั่นใจในความถูกต้องและความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล แต่การเตรียมตัวสำหรับ Review ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยาก หากเรามีการเตรียมความพร้อมที่ดี มาดูเคล็ดลับง่าย ๆ เพื่อเตรียมองค์กรให้พร้อมรับการตรวจสอบแบบมืออาชีพกันค่ะ!🔗 1.จัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงเอกสาร 📂📝 • หมั่นตรวจสอบและแก้ไข เอกสาร RoPA (Record of Processing Agreement) โดยอาจจะมีการจัดประชุมคณะ DPO ให้มาตรวจสอบร่วมกันทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อให้การบันทึกกิจกรรมดำเนินงานเป็นปัจจุบันและถูกต้อง • ข้อมูลที่ได้รับมาสำหรับการประมวลผลข้อมูลนั้นมีฐานกฏหมาย (Lawful Basis) รองรับครบถ้วนหรือไม่? ซึ่งหากไม่มีฐานกฏหมายใดมารองรับจำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยจะต้องจัดทำ “เอกสารขอความยินยอม (Consent Form)” • จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทุกประเภท ที่องค์กรมีการจัดเก็บและนำข้อมูลไปใช้เพื่อให้เจ้าของข้อมูลได้ทราบ วิธีการจัดเก็บรวบรวม การนำไปใช้ และการทำลาย รวมถึงมาตรการความปลอดภัยของข้อมูล 2. ประเมินความเสี่ยงและจัดการ 🔍 • จัดทำแบบประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Data Protection Impact Assessment:… Continue reading เตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ PDPA Review แบบมืออาชีพ!

ถ้าพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองหลุดทำอย่างไรและใครรับผิดชอบ?

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลส่วนบุคคลมีมูลค่าสูง การรั่วไหลของข้อมูลจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเสียหายต่อทั้งบุคคลและองค์กร โดยกฏหมาย PDPA จะมี 2 บทบาท ที่จะมีหน้าที่และบทบาทที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของข้อมูลส่วนบุคคล คือ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล Data Processor)” 🔷 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บริษัท ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือหน่วยงานภาครัฐ 🔷ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ องค์กรหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) ให้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเอง โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 🔐 แล้วกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ทั้ง 2 บทบาทจะทำหน้าที่อย่างไร ? 📍หน้าที่และความรับผิดชอบของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” •… Continue reading ถ้าพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลตัวเองหลุดทำอย่างไรและใครรับผิดชอบ?

มาทำให้การเก็บข้อมูลความยินยอมของพนักงานเป็นเรื่องง่ายกันเถอะ!

พนักงานทุกคนล้วนมีข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ ซึ่งนายจ้างจำเป็นต้องเก็บรวบรวมเพื่อบริหารจัดการองค์กร การขอความยินยอมจากพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของพนักงานและนายจ้างจึงต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ที่ได้ให้ความยินยอมไว้ การให้ความยินยอม หมายถึง อะไร? ง่ายๆ ก็คือ การที่พนักงานเต็มใจให้ข้อมูลส่วนตัว หรือ อนุญาตให้นายจ้างดำเนินการบางอย่างกับข้อมูลส่วนตัวของพนักงานนั่นเอง เช่น การนำข้อมูลส่วนตัวเพื่อไปทำประกันสุขภาพแก่พนักงาน เป็นต้น แล้วพนักงานต้องให้ความยินยอมอะไรบ้าง? ข้อมูลส่วนตัวที่นายจ้างมักขอความยินยอมจากพนักงานตัวอย่างเช่น • ข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ • ข้อมูลการติดต่อฉุกเฉิน • ข้อมูลการศึกษา • ข้อมูลการทำงาน • ข้อมูลด้านสุขภาพ • ข้อมูลทางการเงิน “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดำเนินการในการขอความยินยอม และการเก็บข้อมูลในการให้ความยินยอมจากพนักงานขององค์กร” ในปัจจุบันแต่ละองค์กรจะมีขั้นตอนในการขอความยินยอมพนักงานที่แตกต่างกัน เช่น บางองค์กรจะยังขอความยินยอมเป็นรูปแบบ Manual ก็คือรูปแบบกระดาษ หรือบางองค์กรอาจจะเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ อย่างเช่น Microsoft Form หรือระบบ CRM ขององค์กรเอง WhiteFact จึงอยากนำเสนอโซลูชั่น Consent Management ที่มีฟีเจอร์ที่จะช่วยให้การบริหารความยินยอมจำนวนมากเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ✨ WhiteFact… Continue reading มาทำให้การเก็บข้อมูลความยินยอมของพนักงานเป็นเรื่องง่ายกันเถอะ!

Published
Categorized as Blog

เข้าใจก่อนให้ความยินยอม : รู้เท่าทัน สิทธิของเรา

“การให้ความยินยอม” เป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ การใช้แอปพลิเคชัน หรือแม้แต่การทำธุรกรรมต่างๆ ที่เป็นการยินยอมให้บุคคลอื่นเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา อย่างไรก็ตาม การให้ความยินยอมนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราต้องยินยอมไปเสียทั้งหมด โดยไม่ต้องไตร่ตรองหรือพิจารณาอะไร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรยินยอม และอะไรคือสิ่งที่เราไม่ควรยินยอม? คำตอบก็คือ เราต้อง “เข้าใจ” เสียก่อน การเข้าใจ หมายถึง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน ถูกต้อง และเพียงพอ เกี่ยวกับสิ่งที่เราจะยินยอม ข้อมูลที่เราควรทราบ ประกอบไปด้วย • วัตถุประสงค์ ของการขอความยินยอม• รายละเอียด ของสิ่งที่เราจะยินยอม• ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความเสี่ยงในกรณีที่เราให้ความยินยอมในการจัดเก็บ และเผยแผร่ข้อมูลนั้นอาจก่อให้ความเสียหายต่อเราหรือไม่ • สิทธิ เรามีสิทธิในการดำเนินการข้อมูลของเราอย่างไรบ้าง เช่น สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลในภายหลัง • ช่องทางการติดต่อ ในกรณีที่ต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการของข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อเราเข้าใจข้อมูลเหล่านี้แล้ว เราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดว่าเราจะยินยอมหรือไม่ “การให้ความยินยอมอย่างมีสติ นั้น ไม่ได้เป็นเพียงการปกป้องสิทธิ์ของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่นอีกด้วย” ดังนั้น ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับอะไรก็ตาม • ใช้เวลาสักครู่เพื่ออ่านและทำความเข้าใจข้อมูล • อย่ารีบร้อนตัดสินใจ •… Continue reading เข้าใจก่อนให้ความยินยอม : รู้เท่าทัน สิทธิของเรา

Published
Categorized as Blog

รู้หรือไม่ ? สิทธิของเจ้าของข้อมูล(Data Subject Rights) ทำอะไรได้บ้าง

ตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) กำหนดให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฏหมายในฐานะเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และ ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) นำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ เรามีสิทธิที่จะร้องเรียนได้หรือไม่ ? ทีม WhiteFact จึงอยากให้บทความนี้ช่วยทุกท่านให้ทราบสิทธิของตนเองในการเรียกร้องสิทธิตามกฏหมายได้ มาดูกันค่ะว่า “สิทธิเจ้าของข้อมูล”สามารถทำอะไรได้บ้าง 1.สิทธิที่จะได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) • คุณมีสิทธิทราบว่าองค์กรเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากที่ไหน และการเก็บรวบรวม การนำไปใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง • องค์กรมีหน้าที่แจ้งให้คุณทราบ 💡ตัวอย่าง : คุณมีสิทธิ์ทราบว่าธนาคารได้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณมาจากไหน เช่น จากตัวคุณเอง จากเว็บไซต์ธนาคาร ฯลฯ 📢 สิทธิที่เจ้าของข้อมูลจะได้รับโดยไม่ต้องร้องขอ เนื่องจากโดยปกติแล้วองค์กรจะมีการแจ้งให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมและการนำไปใช้ผ่าน Privacy Notice 2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล (Right of access) •… Continue reading รู้หรือไม่ ? สิทธิของเจ้าของข้อมูล(Data Subject Rights) ทำอะไรได้บ้าง

Published
Categorized as Blog

PDPA คืออะไร ? ฉบับย่อยง่าย!

หลังจากที่ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า PDPA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ซึ่งนับตั้งแต่วันที่มีการบังคับใช้ก็เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ซึ่งบางองค์กรหรือผู้อ่านเองก็อาจจะยังไม่เข้าใจในตัวกฏหมายนี้เองอย่างจริงจัง วันนี้ทีมงาน WhiteFact มีคำตอบที่จะมาช่วยทุกท่านไขข้อสงสัย เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคนแบบเข้าใจง่ายมาให้ได้อ่านกันค่ะ 📖 💡PDPA คืออะไร ? “ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ไม่ให้ถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เปรียบเสมือนเกราะป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเรา ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ หรือการนำไปใช้ในทางที่ผิด” แล้วทำไมองค์กรต้องทำ PDPA? เพราะกฎหมายนี้กำหนดให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเราในฐานะ ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และ ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของเราในฐานะเจ้าของข้อมูล (Data Subject) จะถูกใช้อย่างถูกต้อง โปร่งใส และปลอดภัย องค์กรมีหน้าที่อะไรบ้างตาม PDPA🔍 • ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล… Continue reading PDPA คืออะไร ? ฉบับย่อยง่าย!

Published
Categorized as Blog

รู้ได้อย่างไร ? ธุรกิจคุณ Comply PDPA หรือยัง

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์สำคัญ การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ทางกฎหมาย แต่ยังสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าอีกด้วย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีการตรวจสอบและดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยเรามี Checklist ง่ายๆ ให้ธุรกิจของคุณ ตรวจสอบว่าพร้อมหรือไม่ มาเริ่มกันเลย ✨ 1. การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO: Data Protection Officer) มาตรา 41 DPO คือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อดูแลและตรวจสอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) โดยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล สรุป 💡: การมี DPO ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย แต่ยังเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากลูกค้าอีกด้วย 2. การจัดทำเอกสารบันทึกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (RoPA:Record of Proccessing) มาตรา 39 เอกสารที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเปรียบเสมือนคู่มือที่บอกเราว่า องค์กรเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เก็บไว้ทำไม เก็บไว้นานแค่ไหน และนำข้อมูลไปใช้ทำอะไรบ้าง และเราจะมีการทำลายอย่างไร ซึ่งวิธีการจัดทำจะเป็นเอกสาร หรือใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญในการจัดทำ RoPA ? เพื่อให้เจ้าของข้อมูลและสำนักงานคณะกรรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสคสตรวจสอบได้ และเป็นหลักฐานสำคัญว่าองค์กรปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อช่วยให้องค์กรบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อข้อมูล เพื่อประเมินและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล… Continue reading รู้ได้อย่างไร ? ธุรกิจคุณ Comply PDPA หรือยัง

Published
Categorized as Blog