คำถามคาใจ : แอบอัดเสียงผิด กฎหมาย PDPA หรือไม่ เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่า การแอบอัดเสียงในการสนทนาจากผู้ที่ถูกอัดเสียงนั้นผิดกฎหมาย PDPA หรือเปล่า? 🤔 ตามกฎหมาย PDPA นั้นต้องบอกเลยว่า จริงๆแล้วการอัดเสียง ไม่ได้มีความผิดในกฏหมาย PDPA แต่อย่างใด เนื่องจากคลิปเสียงไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้ตามหลักกม. และสามารถใช้เป็นหลักฐานที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ แต่หากคลิปเสียงนั้นถูกเผยแพร่ลงบนสาธารณะ และทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง เนื่องจากถูกละเมิดสิทธิผู้ที่ได้รับความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายได้เช่นกัน สรุปง่ายๆอ่านให้เข้าใจ!💜 1. การใช้คลิปเสียงในทางที่ถูกต้อง : หากเราใช้คลิปเสียงเพื่อเป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่ถูกอัดเสียง 2. การได้รับความยินยอม : เพื่อความปลอดภัยและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ควรขอความยินยอมก่อนการอัดเสียงเสมอ แม้ว่าในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับ 3. การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล : ถ้าคลิปเสียงนั้นมีข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ การเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอมจะเป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA 4.การเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหาย : หากมีการเผยแพร่คลิปเสียงที่ทำให้บุคคลเสื่อมเสียชื่อเสียง ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา FacebookLine