รู้จักกับข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data) และข้อมูลอ่อนไหว(Sensitive Data) ตามกฏหมาย PDPA พรบ.กฏหมายข้อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 หรือ กฏหมาย PDPA ถูกบังคับใช้เพือให้ข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบการ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ "ข้อมูลส่วนบุคคล" และ "ข้อมูลอ่อนไหว" ตามกฎหมาย PDPA เพื่อให้สามารถป้องกันการละเมิดข้อมูลของเรากันนะคะ 🌐🛡️ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คืออะไร? ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลใด ๆ ที่สามารถใช้ในการระบุตัวตนของบุคคลได้โดยตรงหรือโดยอ้อม ยกตัวอย่างเช่น : ชื่อ-นามสกุล,หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน,หมายเลขโทรศัพท์,ที่อยู่,อีเมล ข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) คืออะไร ? ข้อมูลอ่อนไหว คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลได้แบบเจาะจง และหากรั่วไหลมีความเสี่ยงต่อการอับอายและเสียความเป็นส่วนตัว เช่น : ข้อมูลเชื้อชาติ,ข้อมูลศาสนา,ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ,ข้อมูลทางพันธุกรรม,ข้อมูลทางชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ, การสแกนม่านตา,ข้อมูลความเชื่อทางการเมือง,ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ข้อแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ? สิ่งที่เหมือนกัน ข้อมูลทั้ง 2 ประเภทจะต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล ในการเก็บรวมรวบ นำข้อมูลไปใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ยกเว้นเจ้าของข้อมูลอนุญาตให้เปิดเผยได้และเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขหรือลบข้อมูลได้ทุกเมื่อ สิ่งที่ต่างกัน • ข้อมูลอ่อนไหวต้องการการคุ้มครองที่เข้มงวดกว่าเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในการถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง 📊 • ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หากถูกเปิดเผย อาจส่งผลเสียต่อบุคคลนั้นอย่างร้ายแรง เช่น ถูกขโมยเงิน ถูกแบล็กเมล์ ถูกเลือกปฏิบัติ สรุป💡 การแยกแยะและเข้าใจความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวมีความสำคัญมากในการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เราทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลและปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของเรากันนะคะ ☀️ FacebookLine