PDPA คืออะไร ? ฉบับย่อยง่าย!

หลังจากที่ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า PDPA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ซึ่งนับตั้งแต่วันที่มีการบังคับใช้ก็เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ซึ่งบางองค์กรหรือผู้อ่านเองก็อาจจะยังไม่เข้าใจในตัวกฏหมายนี้เองอย่างจริงจัง

วันนี้ทีมงาน WhiteFact มีคำตอบที่จะมาช่วยทุกท่านไขข้อสงสัย เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคนแบบเข้าใจง่าย
มาให้ได้อ่านกันค่ะ 📖

💡PDPA คืออะไร ?

"ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเรา
ไม่ให้ถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เปรียบเสมือนเกราะป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเรา ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ
หรือการนำไปใช้ในทางที่ผิด"

แล้วทำไมองค์กรต้องทำ PDPA?

เพราะกฎหมายนี้กำหนดให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเราในฐานะ ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และ ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของเราในฐานะเจ้าของข้อมูล (Data Subject) จะถูกใช้อย่างถูกต้อง โปร่งใส และปลอดภัย

องค์กรมีหน้าที่อะไรบ้างตาม PDPA🔍

• ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ก่อนที่จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
• แจ้งวัตถุประสงค์และวิธีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลทราบ โดยองค์กรสามารถทำได้โดยการจัดทำ Privacy Policy ให้แก่เจ้าของข้อมูล หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี สามารถปรึกษาเราได้ที่อีเมล : whitefact.support@g-able.com
• เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลอย่างปลอดภัย
• อนุญาตให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึง แก้ไข หรือลบข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้

แล้วเราในฐานะเจ้าของข้อมูลได้ประโยชน์อะไรจาก PDPA?

• ข้อมูลส่วนบุคคลของเราจะปลอดภัย ไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
• เรามีสิทธิควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้
• เรามีช่องทางร้องเรียน หากข้อมูลส่วนบุคคลของเราถูกใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือถูกละเมิด
สุดท้ายนี้ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ PDPA เพิ่มเติม เพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเราให้ปลอดภัยกันด้วยนะคะ 💜
Published
Categorized as Blog

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *